วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเวก

การเวก

การเวก

“…สามกษัตริย์เที่ยวชมบุปผชาติ     ดอกดกเดียรดาษในสวนขวัญ
เกดแก้วพิกุลแกมพิกัน                       จวงจันทร์ลำดวนกระดังงา…”

วรรณคดี :  “รามเกียรติ์”
ผู้ประพันธ์ :  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ชื่อพฤกษศาสตร์  :  Artabotrys  siamensis
ชื่อสามัญ          :  Artabotrys
ชื่อวงศ์             :  Annonaceae
ชื่ออื่น ๆ              :  กระดังงาเถา  กระดังงา

การเวกเป็นไม้เถาขนาดกลางถึงใหญ่  เนื้อไม้แข็ง  มักพบตามป่าชื้นทั่ว ๆ ไปนิยมปลูกให้เลื้อยเป็นไม้ซุ้มตามเรือนต้นไม้  หรือซุ้มประตู  ใบร่มทึบ  อายุยืนมาก  ออกดอกตลอดปี  ขึ้นได้ดีในทุกที่ทุกแห่งที่มีความชื้นพอสมควร  ชอบอยู่กลางแจ้ง  ลำต้นอาจมีขนาดโคนต้นใหญ่ ๘ - ๑๒ นิ้ว    ลำต้นมีผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ  สีเทาอมดำหรือน้ำตาล  มีกลิ่นเหม็นเขียวเพราะมีต้นน้ำมันกระจายอยู่    ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวจัด  เป็นมัน  รูปมนรี  ปลายแหลม  ยาวประมาณ ๖ - ๗ นิ้ว  แต่กว้างกว่ากระดังงา     ดอกอ่อนเป็นสีเขียว  เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นขาว  เหลืองอ่อน  จนแก่จัดมีสีเหลืองเข้ม  มีกลิ่นหอมรุนแรงและส่งกลิ่นไปได้ไกล  ดอกเป็นกลีบเรียวยาวแยกจากกัน ๖ กลีบ  ดอกใหญ่กว่าและกลีบดอกหนากว่ากระดังงา  เมื่อดอกแก่จะร่วงเป็นผล   ผลมีลักษณะกลมรี  เป็นพวง  สีเขียว  และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม  เมื่อผลแก่จัดภายในผลแก่มีเมล็ดสีดำเป็นเมือก ๆ การขยายพันธุ์  นิยมใช้กิ่งตอน  เพราะโตเร็วกว่าการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น